หัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็คือ ความพยายามในการนำของเหลือใช้จากการผลิต หรือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เพื่อนำมาแปรกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่อีกครั้ง ช่วยทำให้ของเสียเป็นศูนย์หรือเหลือน้อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้คุ้มค่ามากที่สุด
บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ บริการต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้นอาหาร สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ร้านซักแห้ง ร้านซักรีด ฯลฯ เน้นดำเนินธุรกิจอย่างใส่ใจต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ มีการจัดการคัดแยกขยะที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ชวยสนับสนุนและประหยัดการใช้ทรัพยากร ขยะจำพวกเศษอาหาร หรือขยะที่สามารถย่อยสลายได้ สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ ใช้รดน้ำต้นไม้และบำรุงดิน หมุนเวียนอาหารกลับคืนสู่ธรรมชาติ สถานบริการสีเขียวต่างๆ เหล่านี้ยังเน้นให้ความสำคัญกับการกำหนดพื้นที่ในการทิ้งขยะอันตรายอย่างชัดเจนและปลอดภัย รวมทั้งรณรงค์สื่อสารให้บุคลากรในหน่วยงานเห็นคุณค่าความสำคัญ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เหมือนหรือแตกต่างจากสินค้าทั่วไปอย่างไร
การให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม
สินค้าที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรมทั่วไปมักไม่เน้นถึงความสำคัญของผลกระทบที่เกิดจากการผลิตที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งในขณะคัดเลือกวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การบรรจุและหีบห่อ การจัดจำหน่าย
การขนส่ง หรือการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ เมื่อมีการปล่อยของเสียที่เหลือจากการผลิตลงสู่แหล่งน้ำหรืออากาศจึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม
ต่างจากสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเริ่มต้นให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิตตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบอย่างมีคุณภาพ
สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือไม่ก็เลือกใช้วัตถุดิบที่ผลิตมาจากกระบวนการแปรรูป
เช่น กระดาษสำหรับทำหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ พลาสติกที่ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกแปรรูป
เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานน้ำและไฟฟ้าในทุกขั้นตอนการผลิต
จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ พร้อมส่งไปบรรจุหีบห่อและจัดจำหน่ายยังผู้บริโภคต่อไป
การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้
จึงใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าทั่วไป
ราคา
แม้ราคาของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะมีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไปตามท้องตลาดอยู่บ้าง
แต่เมื่อเทียบปัจจัยด้านต่างๆ เช่น คุณภาพสินค้าและต้นทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อม
จัดได้ว่าสินค้าสีเขียวคุ้มค่าสำหรับผู้บริโภคมากกว่า
ในอนาคตผู้บริโภคช่วยกันเลือกสนับสนุนสินค้าและบริการสีเขียวมากขึ้น
ก็ย่อมจะทำให้ราคมจำหน่ายถูกลง
การรับคืนซากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน
สินค้าตามท้องถนนตลาดทั่วไปไม่มีการรับคืนซากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลังจากหมดอายุการใช้งานแล้ว
กลายเป็นภาระของผู้บริโภคที่ต้องหาสถานที่ทิ้ง หรือกำจัดสินค้าที่หมดสภาพนั้น
หลายบ้านมักทิ้งขยะจำพวกแบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ ถ่านไฟฉาย ฯลฯ ปะปนกับขยะทั่วไป
อาจทำให้เกิดการรั่วซึมในแหล่งน้ำหรือดิน หรือเกิดการระเบิดเมื่อถูกเผาไหม้
ขณะที่สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเน้นให้ความสำคัญกับภาระการรับซากคืนหรือผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ
เช่น แบตเตอรี่ที่ไม่ใช้แล้ว หน้าจอคอมพิวเตอร์ ตู้เย็น แบตเตอรี่มือถือ ฯลฯ
เพื่อนำไปแปรสภาพในกระบวนการผลิตต่อไป
เป็นการแบ่งเบาภาระผู้บริโภคและบรรเทาปัญหาขยะพิษล้นเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกัน
สังเกตได้อย่างไรว่าสินค้าหรือบริการใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จะต้องได้รับการตรวจสอบประเมินผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิตตลอดทั้งวัฎจักรผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดจากผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์หรือข้อกำหนดของสินค้าผลิตภัณฑ์
หรือบริการแต่ละประเภท จึงจะได้รับ “ฉลาก” หรือ
“ตราสัญลักษณ์” ซึ่งแสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียว
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้ผลิตสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ว่ากว่าที่จะได้มาซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
ช่วยให้ผู้บริโภคอุ่นใจได้ว่า
ได้เลือกซื้อเลือกใช้สินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
หากเปรียบเทียบกับสินค้าตามท้องตลาดในประเภทเดียวกัน
– หากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริโภคสามารถสังเกตสัญลักษณ์บนกล่อง หีบห่อบรรจุภัณฑ์ หรือบนตัวสินค้านั้นๆ
ได้แก่
1. สัญลักษณ์ฉลากเขียว
2. สัญลักษณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5
3. สัญลักษณ์ผลิตมาจากวัสดุแปรใช้ใหม่
4. สัญลักษณ์ที่ผลิตมาจากป่าที่ปลูก
5. สัญลักษณ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ
– หากเป็นสินค้าจำพวกอาหารทั้งสดและแห้ง
ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตมาจากกระบวนการผลิตปลอดสารเคมีหรือไม่โดยสังเกตสัญลักษณ์
ได้แก่ สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
– หากเป็นบริการต่างๆ เช่นโรงแรม โรงพยาบาล ร้านซักแห้ง หรือสถานีบริการน้ำมัน ฯลฯ ผู้บริโภคเพียงมองหาสัญลักษณ์การรับรอง ได้แก่ สัญลักษณ์รูปใบไม้เขียว สำหรับบริการโรงแรม
ทุกครั้งที่ต้องการซื้อของหรือใช้บริการต่างๆ เตือนตนเองให้เป็นนิสัย หมั่นมองหาตราสัญลักษณ์ทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะทำให้ผู้บริโภคทราบได้ว่าสินค้าหรือบริการใดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้เลือกใช้ตามความต้องการและมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
Last modified: 3 เมษายน 2020