องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารนักท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

13 มกราคม 2022

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำหรับนักท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง

1.  สภาพทั่วไป

          องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 194  หมู่ที่ 7 บ้านโนนสว่าง ต.จำปาโมง อ.บ้านผือ   จ.อุดรธานี  จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อ วันที่  30  มีนาคม  พ.ศ. 2539  ปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบล จากขนาดเล็กเป็นขนาดกลางในการประชุมของคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุดรธานี ครั้งที่  8/2551  เมื่อวันที่  21  สิงหาคม 2551 และได้ปรับเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลประเภทสามัญ ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนราชการและตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562 องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมงอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตก ไปตามเส้นทางบ้านผือ-นาคำไฮ ประมาณ  3  กิโลเมตร  เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ  5  กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านผือ  ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นบริเวณพิกัด ทีอี  164496  ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตเชิงเขาภูพาน ถึงบริเวณพิกัด ทีอี  185497  จุดต้นลำห้วยคำใหญ่ ไปตามแนวกึ่งกลางลำห้วยจนถึงบริเวณพิกัด ทีอี 218506  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวกึ่งกลางลำห้วยน้ำฟ้า จนถึงพิกัด ทีอี 254561 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านหนองทุ่งมนติดกับถนนลาดยาง รพช.บริเวณพิกัด ทีอี 287539  ระยะทาง ประมาณ  17  กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดกับตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบริเวณพิกัด ทีอี  287539  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวกึ่งกลางลำห้วยกระโดง (หรือห้วยงาว) สิ้นสุดบริเวณพิกัด  ทีอี 228445  จุดบรรจบกับลำห้วยทรายระยะทางประมาณ  12  กิโลเมตร ทิศใต้  ติดต่อกับตำบลหนองแวง  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบริเวณพิกัด ทีอี  228445  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวกึ่งกลางลำห้วยทรายจนถึงบริเวณพิกัด ทีอี 200425  จุดต้นลำห้วยทรายไปทางทิศตะวันตก  ตัดผ่านสันเขาภูพาน สิ้นสุดบริเวณพิกัด  ทีอี  173423  จดผาแดง  ระยะทางประมาณ  7  กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลกุดผึ่ง ตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา  จังหวัดหนองบัวลำภู มีแนวเขตเริ่มต้นบริเวณพิกัด  ทีอี  173423  จดผาแดง  ไปทางทิศเหนือตามแนวสันเขาภูพานสิ้นสุดบริเวณพิกัด  ทีอี 164496  ระยะทางประมาณ  7.5  กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ  75   ตร.กม. หรือ ประมาณ  46,875  ไร่

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ เนื้อที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนทางตอนใต้เป็นที่ลูกคลื่นดอนลาด และเป็นแหล่งต้นน้ำ – สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลักษณะของพื้นที่การใช้ประโยชน์ เช่น การทำนาเป็นหลัก มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติและมีน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกหนัก – สภาพพื้นที่ราบเชิงเขา เป็นพื้นที่ลักษณะตามเชิงเขา โดยมีพื้นที่ภูเขาเป็นบางส่วนของหมู่บ้าน โดยจะอยู่ตามแนวเขตกั้นพื้นที่ของหมู่บ้าน, ตำบล 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ – ลักษณะทั่วไป จะมีอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อน และในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มักเกิดความกดอากาศต่ำและพายุดีเปรสชั่นพัดผ่านในช่วงฤดูฝน ซึ่งทำให้เกิดภัยธรรมชาติ นาข้าวในพื้นที่ราบลุ่มเสียหาย สำหรับฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัดและแห้งแล้ง

          1.4 ลักษณะของดิน

               – ในบริเวณพื้นที่ราบเรียบ ถึงค่อยข้างราบเรียบในช่วงฤดูฝนมักมีน้ำแช่ขัง มีน้ำใต้ดินอยู่ในระดับค่อยข้างตื้น ดินชั้นบนโดยมากมีเนื้อดินเป็นทรายปนดินร่วน มีสีเทาเข้ม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับใช้เพื่อการเกษตร เหมาะสำหรับทำนา เป็นที่ลุ่มต่ำบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เป็นพื้นที่เหมาะปลูกพืชหลังฤดูทำนา ตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ตระกูลถั่ว นาปรัง   – ในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบหรือเป็นลูกคลื่นลอนชันจนไปถึงเนินเขา เทือกเขาเหล่านี้เป็นพวกหินทราย หินดินดาน จะไม่มีน้ำขังในช่วงฤดูฝน และระดับน้ำใต้ดินจะพบในระดับความลึกมากกว่า 2 เมตร จัดเป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำดี ดินชั้นบนมีสีน้ำตาลปนเทา เป็นดินร่วนปนทราย ดินมีความสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะในการทำนา การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ไม้ผล ยางพารา ไม้ยืนต้น ยูคาลิปตัส

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

          2.1 เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง  อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี แบ่งเขตการปกครองออกแบ่งเป็น 17 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านจำปาโมง   หมู่ที่ 2 บ้านนาอ่าง   หมู่ที่ 3 บ้านจำปาดง   หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าคราม       หมู่ที่ 5 บ้านวังสวย  หมู่ที่ 6 บ้านกลางน้อย หมู่ที่ 7 บ้านโนนสว่าง    หมู่ที่ 8 บ้านแดง          หมู่ที่ 9 บ้านขัวล้อ    หมู่ที่ 10 บ้านลาน     หมู่ที่ 11 บ้านม่วง       หมู่ที่ 12 บ้านเหล่ามะแงว หมู่ที่ 13 บ้านนาเจริญ        หมู่ที่ 14 บ้านโนนสว่าง   หมู่ที่ 15 บ้านม่วง หมู่ที่ 16 บ้านลาน    หมู่ที่ 17 บ้านเหล่าคราม

3. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                3.1 การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ โดยมี วัด/สำนักสงฆ์

23 แห่ง         

                3.2 ประเพณีและงานประจำปี

      1. ประเพณีทำบุญวันปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี โดยจะทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว             

      2. ประเพณีทำบุญข้าวจี่ พอถึงเดือน 3 (กุมภาพันธ์) ประชาชนก็จะต้องมีการทำบุญข้าวจี่กันทุกหมู่บ้านเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว                                                                         

                3. ประเพณีทำบุญมหาชาติ (บุญพระเวชฯ) เป็นการทำบุญของพื้นบ้านของทุกหมู่บ้านที่จะต้องจัดทำกันเป็นประจำทุกปี และในวันนั้นจะมีการเทศน์มหาชาติตลอดทั้งวัน ตรงกับเดือน 4 ของทุกปี

                4. ประเพณีวันสงกรานต์ ในเดือน 5 ของทุกปี หรือวันที่ 13 – 15 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในตอนเช้าจะไปทำบุญตักบาตรและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

                5. ประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้นเป็นงานบุญประเพณีรวมทั้งตำบลเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านของทางภาคอีสาน โดยจะจัดกันในเดือน 6 ของทุกปี จุดศูนย์รวมอยู่ที่วัดโคธาราม หมู่ที่ 7 บ้านโนนสว่าง เพื่อเป็นการขอฝนเพราะใกล้ฤดูทำนา

                6. ประเพณีบุญเบิกบ้าน หรือเรียกอีกอย่างว่า พิธีเลี้ยงปู่ตา จะจัดขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน โดยจะจัดกันที่บริเวณกึ่งกลางหมู่บ้านหรือศาลปู่ตา โดยประเพณีนี้จัดขึ้นก่อนการลงทำนา ทำไร่ ของชาวบ้านเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขและให้ผลผลิตทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์

                7. ประเพณีวันเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่สำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับเดือน 8 ของทุกปี โดยจะทำบุญตักบาตรและถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาอยู่ที่วัด

                8. ประเพณีทำบุญข้าวประดับดิน ตรงกับเดือน 9 ของทุกปี โดยชาวบ้านจะเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต ผีสาง และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

                9. ประเพณีบุญข้าวสาทร จะทำกันในเดือน 10 ของทุกปี เพื่อนำข้าวกระยาสาทรไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

                10. ประเพณีทอดเทียน จะจัดขึ้นระหว่างการเข้าพรรษา ส่วนมากจัดกันในเดือน 10 ก่อนออกพรรษา จะทำการจัดเป็นบางหมู่บ้านและจะเชิญหมู่บ้านต่าง ๆ นำต้นเทียนมาทอดถวาย โดยมีการร้องสารภัญญะเพื่อเป็นพุทธบูชา

                11. ประเพณีวันออกพรรษา จัดทำบุญกันทุกหมู่บ้าน เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ตรงกับเดือน 11 ของทุกปี

                12. ประเพณีการทำบุญทอดกฐิน จัดทำในระยะเวลา 1 เดือนหลังวันออกพรรษาในระหว่าง 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เพราะถือว่าการทำบุญทอดกฐินเป็นอนิสงฆ์อย่างมาก

                7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

                   – หมอรักษาข้อ/กระดูก นายแสน   สีม่วง ด้านดนตรี (พิน) นายประเสริฐ   พาไสย์ หมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน ด้านพิธีกรรม หมอพราหมณ์บายศรีสู่ขวัญ ด้านจักรสาน ทอผ้าหมัดหมี่ นวดแผนไทย เป็นต้น

                   – ภาษาที่ใช้สนทนากัน จะใช้ภาษาถิ่น ที่เรียกว่า ภาษาอีสาน เป็นหลัก จะมีใช้ภาษาไทยเลยในการสนทนากันผสมอยู่บ้างอย่างเช่น บ้านวังสวย หมู่ที่ 5 และบ้านขัวล้อ หมู่ที่ 9

                7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                   – ผ้าสายรุ้ง

8.ทรัพยากรธรรมชาติ

          8.1 น้ำ ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง มีแหล่งน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นลำห้วย หนอง อ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่กระจายในพื้นที่ตำบลประเภทลำห้วยตามธรรมชาติในตำบล ทรัพยากรน้ำ ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลมาจากลำห้วย 3 ลำห้วยหลัก คือ ลำห้วยโมง ลำห้วยงาว และลำห้วยน้ำฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ 

          8.2 ป่าไม้ ป่าไม้ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมงจะเป็นพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติ กระจายอยู่ตามหมู่บ้าน  ตามสภาพพื้นที่ป่าไม้เขตอนุรักษ์ ป่าสงวน บางพื้นที่ของตำบล พบบริเวณเทือกเขาภูพาน บาง

หมู่บ้านที่เชิงเขา (บ้านแดง, บ้านลาน, บ้านนาอ่าง) ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ได้เริ่มเสื่อมสภาพลง เนื่องจากถูกตัด

ทำลาย และ ไฟป่า บางหมู่บ้านมีพื้นที่ป่าชุมชน ที่มีการอนุรักษ์ไว้ส่วนใหญ่เป็นที่สาธารณะของหมู่บ้าน และบริเวณวัด, โรงเรียนบางแห่ง ป่าไม้ที่พบจะอยู่ตามบริเวณป่าธรรมชาติ, ป่าตามไร่นาของราษฎร, ป่าช้า

          8.3 ภูเขา ติดต่อกับเขตแนวเชิงเขาภูพาน, ภูผาแดง

          8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

      สำหรับทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น ไม่ว่าจะเป็น อากาศ แสงแดด ฯลฯ ยังมีคุณภาพดีเหมือนกับพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่ในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสมารถทดแทน ที่สำคัญก็คือป่าไม้ เขตพื้นที่ของตำบลจำปาโมง มีพื้นที่ป่าลดลงจากอดีตมาก เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย มัน ของเกษตรกรในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนไม่ทางตรงก็ทางอ้อมได้ในอนาคต อันเนื่องมาจากมีการใช้สารเคมีมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นยากำจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมี

          ในอนาคตคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาโมง ขึ้นอยู่กับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และมีการจัดการที่ดี โดยต้องคำนึงถึงสมดุลของธรรมชาติ เพราะทรัพยากรป่าไม้นับว่ามีความสำคัญในแง่ของการอนุรักษ์ดิน น้ำ และสภาพอากาศ ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้ประชาชนในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม

Last modified: 15 มิถุนายน 2023

Comments are closed.