ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยสูงถึงประมาณ 14.72 ล้านตันหรือประมาณ 40,332 ตันต่อวัน แต่มีการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำไปใช้ซ้ำ ขายให้ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า เพื่อส่งไปแปรรูปยังโรงงานต่างๆ ประมาณ 3.25 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 22 เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น เพื่อลดปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นทุกๆวัน สร้างมลพิษเเก่โลกให้น้อยลง รักษาทรัพยากรธรรมชาติให้นานเเสนนาน…มีวิธีง่ายๆ ที่ใครๆก็ทำได้ มาเสนอให้ทุกท่านได้นำไปใช้กัน
R = Reduce (ลดการใช้)
การลด ละ เลิก ใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น ฟุ่มเฟือย หรือใช้จำนวนให้น้อยลง จากที่เคยดึงกระดาษชำระในห้องน้ำม้วนๆ เป็นปึกเบ้อเร่อ ก็ลดลงเหลือแค่สามแผ่นก็พอ หรือจากที่เคยใช้ทิชชูเช็ดหน้า เช็ดปาก สั่งขี้มูล ทั้งวันหมดไปเป็นกล่อง ก็เปลี่ยนมาใช้ผ้าเช็ดหน้า 1 ผืนใช้ได้ทั้งวัน, การรองน้ำใส่ตุ๋มใช้อาบ เเทนการเปิดใช้ฝักบัวอาบน้ำ
R = Reuse (ใช้ซ้ำ)
การใช้แล้วใช้อีก จนกว่าจะหมดสภาพ การใช้งานน้ำอัดลมขวดลิตร ดื่มหมดก็นำขวดไปใส่น้ำเปล่าแทน ใช้น้ำยาซักผ้า ล้างจาน ก็ใช้แบบถุงเติมแทนซื้อใหม่แบบขวด หรือใช้ปิ่นโตเเทนกล่องโฟม ถุงร้อนก๋วยเตี๋ยว ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าสำหรับใส่สินค้าดีกว่าใช้ถุงพลาสติก, การใช้กระดาษทั้งสองหน้า
R = Recycle (รีไซเคิล)
อาจจะสับสนได้กับการ Reuse เพราะเป็นการนำกลับมาใช้แล้วใช้อีกเหมือนกัน แต่ Recycle คือการที่ต้องนำไปแปรสภาพเสียก่อน อย่างน้ำอัดลมขวดลิตร นำตัดขวดครึ่งเอาไปทำเป็นกระบวยตัดน้ำ, เลี้ยงปลากัด, ปลูกไม้ประดับขนาดเล็ก จึงจะถือว่าเป็น Recycleแต่ถ้าจะให้ชัดเจนก็คือการนำเอาขยะพลาสติกทั้งหลาย กลับไปเข้ากระบวนการหลอมละลาย แล้วขึ้นรูปใหม่ กลายเป็นถุงดำ กะละมัง ถังขยะ เป็นต้น หรือไม่ก็กระดาษขาวใช้แล้วไป Recycle ออกมาเป็นกระดาษกล่อง การที่เราชั่งกิโลขายหนังสือพิมพ์ ขายให้ซาเล้งก็เป็นหนึ่งในกระบวนการ Recycle
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ : วิชาการ.คอม
Last modified: 18 สิงหาคม 2020